• ความตัดกันของสี default black white yellow black
  • ปรับขนาดตัวอักษร smaller default bigger
 

โครงสร้างของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเป็นหน่วยงานราชการสังกัดรัฐสภามีฐานะเทียบเท่ากรมและเป็นนิติบุคคล การบริหารงานบุคคลกลางมีองค์กรของตนเอง คือ คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.) ทำหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์ ควบคุม ดูแลบุคลากรในสำนักงาน ซึ่งเรียกว่าข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ประกอบด้วยข้าราชการรัฐสภาสามัญ และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ข้าราชการรัฐสภาสามัญ มี ๔ ประเภท ประกอบด้วย
๑)ตำแหน่งประเภทบริหาร
๒)ตำแหน่งประเภทอำนวยการ
๓)ตำแหน่งประเภทวิชาการ
๔)ตำแหน่งประเภททั่วไป
โดยให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งในแต่ละประเภทตามกำหนดไว้ในบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการรัฐสภา แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ.๒๕๕๔ ในส่วนสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา มีเลขาธิการวุฒิสภาเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อประธานวุฒิสภา โดยมีที่ปรึกษาด้านต่าง ๆ และรองเลขาธิการวุฒิสภาจำนวน ๖ คน เป็นผู้ช่วยกำกับดูแลการปฏิบัติราชการแทน อีกทั้งยังมีกลุ่มงาน อิสระ ๓ กลุ่มงาน ปฏิบัติงานให้โดยตรงต่อเลขาธิการวุฒิสภา คือ กลุ่มงานที่ปรึกษา กลุ่มงานตรวจสอบภายใน กลุ่มช่วยอำนวยการนักบริหาร โดยมีการแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น ๑๘ สำนัก มีหน้าที่ ครอบคลุมภารกิจและกิจกรรมด้านต่าง ๆ ของวุฒิสภา ส่วนข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ได้แก่ ผู้ซึ่งรับราชการในตำแหน่งการเมืองของรัฐสภาโดยได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฏหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
 
  • (๑) ที่ปรึกษาประธานรัฐสภา
  • (๒) ที่ปรึกษารองประธานรัฐสภา
  • (๓) ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • (๔) ที่ปรึกษาประธานวุฒิสภา
  • (๕) ที่ปรึกษารองประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • (๖) ที่ปรึกษารองประธานวุฒิสภา
  • (๗) ที่ปรึกษาผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
  • (๘) โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • (๙) โฆษกประธานวุฒิสภา
  • (๑๐) โฆษกผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
  • (๑๑) เลขานุการประธานรัฐสภา
  • (๑๒) เลขานุการรองประธานรัฐสภา
  • (๑๓) เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • (๑๔) เลขานุการประธานวุฒิสภา
  • (๑๕) เลขานุการรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • (๑๖) เลขานุการรองประธานวุฒิสภา
  • (๑๗) เลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
  • (๑๘) ผู้ช่วยเลขานุการประธานรัฐสภา
  • (๑๙) ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานรัฐสภา
  • (๒๐) ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • (๒๑) ผู้ช่วยเลขานุการประธานวุฒิสภา
  • (๒๒) ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • (๒๓) ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานวุฒิสภา
  • (๒๔) ผู้ช่วยเลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองดังกล่าวข้างต้น ประธานรัฐสภา ประธานสภา ผู้แทนราษฎร หรือ ประธานวุฒิสภา แล้วแต่กรณี แต่งตั้งบุคคลซึ่งเห็นสมควรตามเหตุผล ใน ทางการเมือง และต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปที่จะเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญได้ตามมาตรา ๓๗ เว้นแต่ ข. (๑) และ (๒) มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ รัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔